การบริหารบุคลากรในยุค AI

AI


โลกของการทำงานกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำคือตระหนักว่าแนวทางเก่า ๆ ในการบริหารบุคลากรอาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป ตอนนี้ถึงเวลาต้องปรับตัวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริหาร หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะ AI ที่ถึงคุณอาจไม่ได้เอามาใช้ แต่ก็ควรรู้ว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง


วันนี้ ByteHR จะมาพูดถึง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ผู้นำองค์กรระดับโลกมุ่งเน้น 3 ประการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความสำเร็จในระดับใหม่ในยุคของ AI 


1) กำหนดนิยามใหม่ของงานโดยเป็นกลุ่มของทักษะและงาน ไม่ใช่ตำแหน่งงาน 

2) นำทักษะและการเรียนรู้ของพนักงานมาเป็นศูนย์กลางของการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถ

3) นำ AI มาใช้เพื่อมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์


ผู้นำธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น แนวโน้มการจ้างงานที่แตกต่างกันในอุตสาหกรรมต่างๆ การพัฒนากลยุทธ์การทำงานระยะไกล(Work From Home) และแบบผสมผสาน (Hybrid) จำนวนและประเภทของคนที่เปลี่ยนงานก็เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงความชอบของคนรุ่นต่อรุ่น แต่ไม่มีสิ่งใดที่จะเทียบได้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารที่ AI แสดงให้เห็น เนื่องจากมันเริ่มกำหนดพื้นฐานใหม่ให้กับวิธีการทำงานของเรา และสังคม


1.นิยามงานใหม่ ให้เป็นเรื่องของทักษะและหน้าที่ ไม่ใช่เรื่องของชื่อตำแหน่ง

เรารู้ว่าในที่สุด AI จะส่งผลกระทบต่องานแทบทั้งหมดในระดับหนึ่งเมื่อมีการนำเครื่องมือ AI เข้ามาใช้กับชีวิตประจำวันของเราเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณมองงานเป็นรายการหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณจะสามารถแยกได้ว่า งานไหนที่เสี่ยงต่อการถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติมากกว่างานอื่น ๆ และมุ่งเน้นไปที่การช่วยพัฒนาทักษะของพนักงานด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นทักษะที่ AI ยังไม่สามารถทำได้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและความคล่องตัวในยุคของ AI เช่น ตำแหน่งที่ดูมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ขัดเจนคือ ฝ่ายบัญชี ที่หน้าที่ส่วนใหญ่คือจัดการกับบัญชีเข้าออกของบริษัททั้งหลาย แต่ถ้าหากมองลึกลงไปถึงทักษะหน้าที่ความรับผิดชอบคุณจะพบว่า หน้าที่ของนักบัญชีนั้น มีความละเอียด รอบคอบ และต้องอยู่กับตัวเลขตลอดเวลา เมื่อเราดูทักษะในเนื้องานแล้ว เราก็อาจจะสามารถเพิ่มทักษะให้นักบัญชีของเราได้เรียนรู้ทักษะด้าน Data analytic (วิเคราะห์ข้อมูล) ทางด้านธุรกิจเป็นทักษะเพิ่มเติม เพราะ AI ก็อาจ


2. นำทักษะและการเรียนรู้ของพนักงานมาเป็นศูนย์กลาง

เราขอยกตัวอย่างของโครงการที่ Uniliver แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังทำอยู่ เรียกว่า “U-Work” 

U-Work เป็นรูปแบบการจ้างงานเชิงนวัตกรรมของ Unilever ช่วยให้พนักงานสามารถสลับไปมาระหว่างงานที่ได้รับมอบหมายที่หลากหลายตามทักษะของพวกเขา แทนที่จะผูกติดอยู่กับตำแหน่งและบทบาทที่ทำอยู่เดิม โดยในระหว่างที่ได้รับมอบหมายงาน พนักงาน U-Work (หรือ “U-workers”) สามารถค้นหาความสนใจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งธุรกิจของตนเองหรือเลือกใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ช่วยให้พนักงานมีความยืดหยุ่นและสร้างความคล่องตัวให้กับองค์กร

IBM ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรซึ่งทำได้ดี โดย IBM เป็นผู้นำด้านการคิดโดยคำนึงถึงทักษะเป็นอันดับแรกมายาวนาน พวกเขาได้เปิดตัวโปรแกรมฝึกงานเมื่อไม่กี่ปีก่อนเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับบทบาทในอนาคตของบริษัท โดยสร้างกรอบการทำงานที่เน้นหลักสูตรการเรียนรู้และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ปัจจุบัน พวกเขามีเด็กฝึกงานนับพันคนใน 35 บทบาท เช่น Cyber security (ความปลอดภัยทางไซเบอร์) Software developer (การพัฒนาซอฟต์แวร์) Data science (วิทยาศาสตร์ข้อมูล) เป็นต้น 


ผู้นำบริษัทควรนำทัพโดยการฝึกอบรมพนักงานให้เรียนรู้เกี่ยวกับ AI และการนำ AI มาใช้เพื่อให้งานของพวกเขาง่ายขึ้น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และมีเวลาไปพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ 


AI



3. นำ AI มาใช้เพื่อมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

LinkedIn พบว่าผู้เชี่ยวชาญต่างรู้สึกตื่นเต้นที่ AI สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและลดภาระงานของตนได้ ดัชนีแนวโน้มการทำงานของ Microsoft แสดงให้เห็นว่า 70% ของพนักงานต้องการมอบหมายงานให้ AI มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อลดภาระงานของพวกเขา และที่ LinkedIn ประมาณการว่าสมาชิกของบริษัทมากกว่า 80% อยู่ในฐานะที่จะใช้ AI เพื่อทำงานให้เป็นอัตโนมัติ อย่างน้อยหนึ่งในสี่ของงานธรรมดา ที่ต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน เวลาที่เหลือนั้น บริษัทจะนำมาใช้พัฒนาทักษะทางอารมณ์ของพนักงานให้มากขึ้น เช่น การบริการ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและ AI ยังไม่สามารถทำได้เท่ามนุษย์ ที่สำคัญคือลูกค้าส่วนใหญ่ก็ยังอยากได้รับการบริการจากมนุษย์ด้วยกันเองมากกว่าระบบอัตโนมัติที่ดูแห้งแล้งและไร้ความรู้สึก


ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างของแนวทางองค์กรชั้นนำระดับโลก แต่หากบริษัทของคุณไม่ได้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เราขอแนะนำว่าให้ดูเป็นแนวทางไว้ก็เพียงพอ เพราะจากประสบการณ์ของ ByteHR ที่เราพบเจอโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทเล็ก ๆ เพราะเราเห็นคนจำนวนมากกระโดดขึ้นตามเทรนด์ AI และล้มไม่เป็นท่า เพราะพวกเขาไม่เข้าใจมันจริงๆ เพราะ AI ก็คือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่หากไม่รู้วิธีใช้ก็อาจไร้ประโยชน์


ในช่วงที่บริษัทต่าง ๆ ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงต้องอยู่ภายในบริบทตามขีดความสามารถและความจำเป็นของบริษัท เราไม่แนะนำให้ผู้นำพลิกกระดาน เปลี่ยนทั้งบริษัทและดึงดันที่จะเอา AI มาใช้เพียงเพราะกระแสนิยมมาใหม่ การเป็นผู้ใช้งานรายแรก ๆ ในอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ มาพร้อมกับความเสี่ยงมากมายที่อาจปรากฏชัดเจนในทันที ดังนั้นบริษัทควรพิจารณาว่ากระบวนการทางธุรกิจของคุณมีขนาดใหญ่หรือซับซ้อนเพียงใด และเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการที่มีความสำคัญน้อย ๆ ก่อนด้วยความระมัดระวัง เช่นกระบวนการสรรหาบุคลากรซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญขององค์กร การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ติดตามและคัดเลือกผู้สมัครจะช่วยให้ขั้นตอนการสรรหาบุคลากรยุ่งยากน้อยลง 


ที่ ByteHR เรามี ระบบติดตามผู้สมัครที่ใช้งานง่าย คุณสามารถค้นหา กรอง และเข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครได้อย่างรวดเร็ว จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ประวัติย่อ จดหมายปะหน้า ไว้ในที่เดียวกัน ทำให้การค้นหาผู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทีมของคุณเป็นเรื่องง่าย รวมถึงโปรแกรมบริหารงานบุคคลครบวงจร ที่รวมการทำเอกสารราชการ โปรแกรมทำเงินเดือนไว้ในที่เดียว ทำให้คุณจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายด้วยระบบคลาว์ดหากคุณไม่แน่ใจว่าระบบติดตามผู้สมัครจะเหมาะกับองค์กรของคุณหรือไม่ เรายินดีให้คำปรึกษาได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด